นักเขียนตัวน้อยกับบันทึกรายวันที่น่าทึ่ง
วันที่ 29 มีนาคม 2560
น้องต้นหลิว หรือที่รู้จักกันในชื่อ เด็กหญิงเรไร สุวีรานนท์ นักเขียนตัวน้อยวัย 8 ขวบเจ้าของหนังสือเรไรรายวัน และเพจเรไรรายวัน ที่มียอดการติดตามสูงถึง 168,000 คน
คุณแม่เริ่มสอนเรื่องการเขียนให้ต้นหลิวอย่างไร
ก่อนอื่นเลยนะ เราต้องทำความเข้าใจกับเขาก่อน ซึ่งเด็ก 7 ขวบ ฉลาดและโตพอที่จะรู้เรื่องแล้ว แต่ปัญหาตอนที่เริ่มเขียนช่วงแรกๆ คือเรื่องของตัวสะกดเรื่องของคำไม่มีปัญหา เพราะแม่บอกเขาว่า ให้เขาเขียนเหมือนที่เขาพูดเลย นั่นแหละเขาก็เริ่มถ่ายทอดจากปากเขาที่พูดออกมา แล้วเขียนน้องต้นหลิวมีพัฒนาการในการเขียนอย่างไรพอเขาเขียนอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ที่ใช้วิธีพูดออกมาแล้วเขียนออกไปพอต่อมาเล่าเยอะ ก็เริ่มงงละว่า “เมื่อกี้หนูเล่าว่าอะไรนะ จำไม่ได้” แล้วเขาก็เริ่มฉลาดมาถามว่า“ทำไมคุณแม่ไม่อัดคลิปไว้ล่ะ ตอนที่หนูเล่าให้คุณแม่ฟัง” พอพูดจบก็เปิด แล้วก็เขียนสิ่งที่ตัวเองพูด เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าภาษาที่เขาเขียนจะไม่มีคำเชื่อมจะเป็นประโยคๆ ไป นั่นคือเขาทำแบบนี้พอตอนหลัง ก็มาบอกว่า “คุณแม่ซื้อกระดานให้หนูหน่อยสิ หนูอยากได้กระดานที่เป็น 2 หน้า หนูจะได้เอามาจดว่าหนูพูดอะไร” จากนั้น เขาก็จะเริ่มจดเขาก็จะได้ทบทวน แต่พอเวลาจะมาเขียนอีกทีนึงก็ขี้เกียจละ มาบอกว่า “เมื่อยอ่ะ”ต้องทำงาน 2 รอบ ก็จะมีกระบวนการลบคำบางคำออก เพื่อที่จะให้ตัวเองเขียนสั้นลง แล้วเขาก็จะเลือกคำ ว่าลบคำไหนแล้วความหมายจะไม่เปลี่ยน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเขาเขียนอะไรไม่เวิ่นเว้อ เขาจะเขียนอะไรที่ตรงๆ นั่นคือ กระบวนการเขียนที่เขาทำ
เรื่องของ 10 คำสำคัญก่อนเขียนต่อมาเขียนยาวละ เริ่มขี้เกียจ เริ่มรู้มาก ก็เล่าให้แม่ฟังว่า “คุณแม่ หนูจะเล่าเรื่องเล่นกับเพื่อน ยังงี้ๆๆ” พอเล่าจบก็เขียนเฉพาะคำสำคัญที่ตัวเองเล่าออกมาว่ามีอะไรเป็นคีย์เวิร์ด เช่น สมมติเขาเล่าเรื่องคุณครูแจกหน้าที่ให้เพื่อนแต่ละคนในห้อง รวมถึงเขาด้วย แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งทำหน้าที่ตรวจดูว่าเพื่อนคนอื่น ๆ กิน อาหารหมดจานหรือเปล่าเขาก็จะเขียนชื่อเพื่อนคนนั้น เขียนเรื่องกินข้าวหมดจาน เรื่องฉันกินเสร็จทีหลัง อะไรแบบนี้ พอเขียนแล้วก็จะมาดูว่า 10 คำนั้นมีอะไร แล้วเขาก็จะคิดว่าเขาจะเริ่มต้นจากตรงไหนก่อน เขาก็จะดึงคำมาใช้ทีละคำแล้วเขาก็จะสรุปว่าคำไหนที่ใช้แล้วเขาจะทำเครื่องหมายถูกไว้ แล้วเขาก็จะเล่นกับตัวเองว่า วันนี้คำที่เขียนไป 10 คำ ฉันเอามาใช้ครบไหม ถ้าวันไหนเขียนจนจบแล้วเงยหน้าขึ้นมา บางทียังเหลืออีก 2 คำ ที่ยังไม่ได้เอามาใช้
เครื่องติดเมื่อเริ่มสนุกสิ่งที่เขาทำกับการเขียน แม่คิดว่า เขามองว่ามันสนุก และเขาก็เล่นกับมันไปเรื่อยๆ เขาได้รู้ว่าภาษาหรือการเขียนของเขาก็เหมือนเขาเล่นบาร์บี้ เหมือนเล่นตัวต่อเลโก้ แล้วเขาสนุก เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำให้การเขียนไม่น่าเบื่อสำหรับเขาแม่คิดว่าเด็กทุกคนก็จะทำ นั่นคือขั้นตอนการเขียนที่ต้นหลิวทำ พอหลังจากที่เขาเขียนมาปีกว่า ระบบคิดของเขาก็พัฒนาตามลำดับขั้น ว่าเขาจะเขียนเรื่องอะไรคำสำคัญของเขาคืออะไร และเขียนออกมาดูมีชั้นเชิงมากขึ้น ทำให้น่าติดตามมากขึ้นความสำเร็จของ “เรไรรายวัน”ตั้งแต่ที่ต้นหลิวเริ่มเขียนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แม่ไม่ได้คิดว่าจะมีคนชอบมันเร็วมากที่มีแฟนเพจมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ทะลุ 168,000 คน ไปแล้ว แม่จึงคิดที่จะต่อยอด อยากให้เด็กๆ ที่อายุพอๆ กับต้นหลิวได้หันมาเขียนบันทึกเพราะการฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน ซึ่งตอนนี้ก็มีโครงการนำร่อง“Reading Room” ให้เด็กๆ เข้าร่วมเพื่อมาเวิร์คชอปเรื่องการเขียน อยากให้เด็กๆ เขียนกันเยอะๆ เพราะการเขียนต้องมีการวิเคราะห์ การกลั่นกรอง มันเป็นการฝึกสมองไปในตัว
วันนี้ ใครที่ยังไม่รู้จักเพจ “เรไรรายวัน” ของน้องต้นหลิว ลองเข้าไปหาอ่านในเฟซบุ๊กนะคะ เพราะเชื่อเหลือเกินว่าใครที่ได้อ่านบันทึกในแต่ละวันของน้องต้นหลิว จะต้องมีรอยยิ้มแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ปกครองก็ลองอ่านกันดูค่ะ เพราะบันทึกจากเด็กน้อยคนนี้อาจเติมเต็มแรงบันดาลใจให้เด็กๆ อีกมากมายได้รักการอ่าน รักการเขียนและเปิดโลกทัศน์ให้ใครๆ ได้เห็นตัวหนังสือที่เต็มไปด้วยจินตนาการบริสุทธิ์ที่ไม่รู้จบในมุมมองของเด็กๆ